กฎการเปลี่ยนเป็นเสียงขุ่นนาสิก[3][4][7] ของ เสียงขุ่นนาสิก

คำอธิบายในที่นี้เป็นแนวโน้มการออกเสียงเป็นเสียงขุ่นนาสิกในภาษาโตเกียว ข้อมูลในส่วน "พจนานุกรมการออกเสียง" มีการใช้สัญลักษณ์พิเศษตามที่ปรากฏในพจนานุกรมดังนี้

  1. 「ガ・ギ・グ・ゲ・ゴ」 ที่ออกเป็นเสียงขุ่นนาสิกจะแสดงด้วยอักษรพิเศษ 「カ゚・キ゚・ク゚・ケ゚・コ゚」 ตามลำดับ
  2. เครื่องหมาย 「」 ใช้เพื่อแสดงตำแหน่งเสียงตก (ญี่ปุ่น: 下がり目 โรมาจิ: sagari-me ทับศัพท์: ซางาริเมะ) ของคำหรือหน่วยคำนั้น ส่วนเครื่องหมาย 「」 ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือหน่วยคำนั้นไม่มีตำแหน่งเสียงตก
  3. ตัวอักษรไม่เข้มใช้เพื่อแสดงว่าตัวอักษรดังกล่าวออกเสียงโดยมีการลดความก้อง (devoicing) ของเสียงสระด้วย

หลักการทั่วไป

  • เมื่อเสียง /g/ ปรากฏในตำแหน่งต้นคำ จะออกเป็นเสียงขุ่นธรรมดา: [g]
ภาษาญี่ปุ่นระบบเฮ็ปเบิร์นระดับหน่วยเสียงเสียงโดยละเอียดพจนานุกรมการออกเสียงความหมาย
学校(がっこう)gakkō/gaQkoː /[gak̚koː]ガッコー ̄โรงเรียน
外国(がいこく)gaikoku/gaikoku/[gai̯kokɯ]ガイコク ̄ต่างประเทศ
元気(げんき)genki/geNki/[geŋːkʲi]ゲ\ンキแข็งแรง, กระปรี้กระเปร่า
  • เมื่อ /g/ ปรากฎในตำแหน่งที่ไม่ใช่ต้นคำ (รวมถึงหน่วยคำเติมท้าย เช่น คำช่วย 「が」「ぐらい」「ごろ」) จะออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก: [ŋ]
ภาษาญี่ปุ่นระบบเฮ็ปเบิร์นระดับหน่วยเสียงเสียงโดยละเอียดพจนานุกรมการออกเสียงความหมาย
鍵(かぎ)kagi/kagi/[kaŋʲi]カキ゚\กุญแจ
告げる(つげる)tsugeru/tugeru/[t͡sɯŋeɾɯ]ツケ゚ル ̄แจ้ง, บอก
事業(じぎょう)jigyō/zigyoː/[d͡ʑiŋjoː]ジ\キ゚ョーกิจการ
タイ語(ご)tai-go/tai-go/[tai̯ŋo]タイコ゚ ̄ภาษาไทย
山(やま)がyama-ga/yama-ga/[jamaŋa]ヤマ\カ゚ภูเขา+(คำช่วย)
三時間(さんじかん)ぐらいsan-jikan-gurai/saN-jikaN-gurai/[sanːd͡ʑikaŋːŋɯɾai̯]サンジカンク゚\ライประมาณ 3 ชั่วโมง
三時(さんじ)ごろsan-ji-goro/saN-ji-goro/[sanːd͡ʑiŋoɾo]サンジコ゚\ロราว ๆ บ่ายสาม/ตีสาม
  • คำที่ปกติอยู่กลางคำหรือประโยค แต่ถูกนำมาใช้ขึ้นต้นคำหรือประโยค จะออกเป็นเสียงขุ่นนาสิกเช่นกัน
ภาษาญี่ปุ่น辞書(じしょ)で引(ひ)いてみた。、出(で)ていなかった。
ระบบเฮ็ปเบิร์นJisho de hiite mita. Ga, dete inakatta.
ระดับหน่วยเสียง/jisyo de hiːte mita. ga, dete inakatta/
เสียงโดยละเอียด[d͡ʑiɕo de çiːte mʲita. ŋa, dete inakat̚ta]
ความหมาย"ลองค้นในพจนานุกรมดูแล้ว แต่ไม่มี"
  • คำที่เดิมขึ้นต้นด้วยเสียง /k/ เปลี่ยนเป็นเสียง /g/ จากปรากฏการณ์ "เร็นดากุ" (ญี่ปุ่น: 連濁 โรมาจิ: rendaku)[note 1] จะออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก
ภาษาญี่ปุ่นระบบเฮ็ปเบิร์นระดับหน่วยเสียงเสียงโดยละเอียดพจนานุกรมการออกเสียงความหมาย
雨傘(あまがさ)amagasa/ama/+/kasa/ → /amagasa/[amaŋasa]アマカ゚サ ̄

アマカ゚\サ

ร่มกันฝน
人柄(ひとがら)hitogara/hito/+/kara/ → /hitogara/[çi̥toŋaɾa]ヒトカ゚ラ ̄นิสัยใจคอ
冬景色(ふゆげしき)fuyugeshiki/huyu/+/kesiki/ → /huyugesiki/[ɸɯjɯŋeɕi̥kʲi]フユケ゚\ทิวทัศน์ในฤดูหนาว
ガス会社(がいしゃ)gasugaisha/gasu/+/kaisya/ → /gasugaisya/[gasuŋai̯ɕa]ガスカ゚\イシャบริษัทแก๊ส

ข้อยกเว้น

  • คำยืมจากภาษาต่างประเทศ (ญี่ปุ่น: 外来語 โรมาจิ: gairaigo ทับศัพท์: ไกไรโงะ) จะยึดตามภาษาต้นทาง นั่นคือ หากภาษาต้นทางเป็น [g] ก็จะออกเป็นเสียงขุ่นธรรมดา ([g]) หากภาษาต้นทางเป็น [ŋ] ก็จะออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก ([ŋ])
ภาษาญี่ปุ่นระบบเฮ็ปเบิร์นระดับหน่วยเสียงเสียงโดยละเอียดพจนานุกรมการออกเสียงความหมาย
ハンバーガーhanbāgā/haNbaːgaː/[hamːbaːgaː ]ハンバ\ーガーแฮมเบอร์เกอร์ (อังกฤษ: hamburger)
エネルギーenerugii/enerugiː/[eneɾɯiː]エネ\ルギー

エネル\ギー

พลังงาน (เยอรมัน: Energie)
モンゴルmongoru/moNgoru/[moŋːgoɾɯ]モ\ンゴルมองโกเลีย (อังกฤษ: Mongol)
キングkingu/kiNgu/[kʲiŋːŋɯ]キ\ンク゚พระราชา (อังกฤษ: king)
シンガーsingā/siNgaː/[ɕiŋːŋaː ]シ\ンカ゚ーนักร้อง (อังกฤษ: singer)
メレンゲmerenge/mereNge/[meɾeŋːŋe]メレンケ゚ ̄

メレ\ンケ゚

ชื่อขนมชนิดหนึ่ง (ฝรั่งเศส: meringue)
  • คำยืมจากภาษาต่างประเทศบางคำ แม้ภาษาต้นทางจะเป็นเสียง [g] แต่ถ้าใช้กันมานานก็อาจจะออกเป็นเสียงขุ่นนาสิกได้
ภาษาญี่ปุ่นระบบเฮ็ปเบิร์นระดับหน่วยเสียงเสียงโดยละเอียดพจนานุกรมการออกเสียงความหมาย
イギリスigirisu/igirisu/[iŋʲiɾisɯ]イキ゚リス ̄สหราชอาณาจักร (โปรตุเกส: Inglez)
ペンギンpengin/peNgiN/[peŋːŋʲiɴ]ペンキ゚ン ̄เพนกวิน (อังกฤษ: penguin)
ジャガいもjagaimo/zyagaimo/[d͡ʑaŋaimo]ジャガイモ ̄มันฝรั่ง (「ジャガ」 มาจาก 「ジャガタラ」 ดัตช์[9]หรือโปรตุเกส[10][11]: Jacatra "จาการ์ตา")
ภาษาญี่ปุ่นระบบเฮ็ปเบิร์นระดับหน่วยเสียงเสียงโดยละเอียดพจนานุกรมการออกเสียงความหมาย
昼(ひる)ごはんhiru-gohan/hiru/+/gohaN/[çiɾɯgohaɴː ]ヒルゴ\ハンอาหารเที่ยง
生(なま)ごみnama-gomi/nama/+/gomi/[namagomʲi]ナマ\ゴミ

ナマゴミ ̄

ขยะเปียก
高等学校(こうとうがっこう)kōtō-gakkō/koːtoː/+/gaQkoː/[koːtoːgak̚koː ]コートーガ\ッコーโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • คำประสมที่คำหลังขึ้นต้นด้วย /g/ แต่มีเส้นแบ่ง (ญี่ปุ่น: 切れ目 โรมาจิ: kireme ทับศัพท์: คิเรเมะ) ระหว่างคำทั้งสองไม่ชัดเจน จะออกเสียงเป็นขุ่นนาสิก
ภาษาญี่ปุ่นระบบเฮ็ปเบิร์นระดับหน่วยเสียงเสียงโดยละเอียดพจนานุกรมการออกเสียงความหมาย
小学校(しょうがっこう)shōgakkō/syoːgaQkoː/[ɕoːŋak̚koː]ショーカ゚\ッコーโรงเรียนประถมศึกษา
中学校(ちゅうがっこう)chūgakkō/tyuːgaQkoː/[t͡ɕɯːŋak̚koː]チューカ゚\ッコーโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
管楽器(かんがっき)kangakki/kaNgaQki/[kaŋːŋak̚kʲi]カンカ゚\ッキเครื่องดนตรีเป่า
  • กรณีที่มีหน่วยคำอุปสรรค 「お」「ご」(หน่วยคำแสดงความสุภาพ) อยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วย /g/ โดยปกติจะไม่ออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก
ภาษาญี่ปุ่นระบบเฮ็ปเบิร์นระดับหน่วยเสียงเสียงโดยละเอียดพจนานุกรมการออกเสียงความหมาย
お元気(げんき)o-genki/o/+/geNki/[ogeŋkʲi]オゲ\ンキแข็งแรง, กระปรี้กระเปร่า
お義理(ぎり)o-giri/o/+/giri/[oiɾʲi]オギリ ̄หน้าที่
ご議論(ぎろん)go-giron/go/+/giroN/[goiɾoɴː]ゴギ\ロンข้อถกเถียง
ご学友(がくゆう)go-gakuyū/go/+/gakuyuː/[gogakɯyɯː]ゴガクユー ̄เพื่อนที่โรงเรียน
  • กรณีที่มีคำอุปสรรค 「非(ひ)」「不(ふ)」 อยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วย /g/ บางคำออกเป็นเสียงขุ่นธรรมดาหรือเสียงขุ่นนาสิกก็ได้
ภาษาญี่ปุ่นระบบเฮ็ปเบิร์นระดับหน่วยเสียงเสียงโดยละเอียดพจนานุกรมการออกเสียงความหมาย
非合法(ひごうほう)higōhō/higoːhoː/[çiŋoːhoː ], [çigoːhoː ]ヒコ゚\ーホー

ヒゴ\ーホー

ผิดกฎหมาย
非合理(ひごうり)higōri/higoːri/[çiŋoːɾʲi], [çigoːɾʲi]ヒコ゚\ーリ

ヒゴ\ーリ

ไม่สมเหตุสมผล
不合格(ふごうがく)fugōkaku/hugoːkaku/[ɸɯŋoːkakɯ], [ɸɯgoːkakɯ]フコ゚\ーカク

フゴ\ーカク

สอบตก
不合理(ふごうり)fugōri/hugoːri/[ɸɯŋoːɾʲi], [ɸɯgoːɾʲi]フコ゚\ーリ

フゴ\ーリ

ไม่สมเหตุสมผล
  • เลข "5" ไม่ออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก ยกเว้นบางคำที่ความหมายของเลข "5" ได้เลือนรางไปแล้วจะออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก
ภาษาญี่ปุ่นระบบเฮ็ปเบิร์นระดับหน่วยเสียงเสียงโดยละเอียดพจนานุกรมการออกเสียงความหมาย
十五人(じゅうごにん)(15人)jū-go-nin/zyuːgoniN/[d͡ʑɯːgoɲiɴː ]ジュ\ー・ゴニ\ン

ジュ\ーゴニン

15 คน
百五十人(ひゃくごじゅうにん)(150人)hyaku-go-jū-nin/hyakugojuːniN/[çakɯgoʑɯːɲiɴː]ヒャクゴジュ\ーニン150 คน
七五三(しちごさん)shichigosan/sitigosaN/[ɕi̥t͡ɕiŋosaɴː]チコ゚サン ̄

チコ゚\サン

เทศกาลฉลองสำหรับเด็กอายุ 3 ขวบ 5 ขวบ และ 7 ขวบ
十五夜(じゅうごや)jūgoya/zyūgoya/[d͡ʑɯːŋoja]ジューコ゚ヤ ̄คืนเดือนเพ็ญ
  • คำสัทพจน์ (คำเลียนเสียงและแสดงสภาพ) ไม่ออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก
ภาษาญี่ปุ่นระบบเฮ็ปเบิร์นระดับหน่วยเสียงเสียงโดยละเอียดพจนานุกรมการออกเสียงความหมาย
げらげらgeragera/geragera/[geɾageɾa]ゲ\ラゲラคำแสดงเสียงหัวเราะเสียงดังโดยไม่สงวนท่าที
がんがんgangan/gaNgaN/[gaŋːgaɴː]ガ\ンガンคำแสดงเสียงดังที่เกิดจากตีโลหะ ฯลฯ
ぎとぎとgitogito/gitogito/[gʲitoito]ギ\トギトสภาพไขมันเยิ้ม